การใช้สารแทนนินเพื่อลดความรุนแรงของอาการท้องร่วง

ในฟาร์มที่ประสบปัญหาสัตว์ท้องร่วงไม่ว่าจะในฟาร์มโค หรือฟาร์มสุกรนั้น เกษตรกรหลายรายนิยมใช้ยาปฏิชีวนะพื่อแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาเมื่อใช้ยาปฏิชีวนะ...

การใช้สารแทนนินเพื่อลดความรุนแรงของอาการท้องร่วง

โดย นางสาวสิริพรรณ แสนบุตร

 ในฟาร์มที่ประสบปัญหาสัตว์ท้องร่วงไม่ว่าจะในฟาร์มโค หรือฟาร์มสุกรนั้น เกษตรกรหลายรายนิยมใช้ยาปฏิชีวนะพื่อแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาเมื่อใช้ยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานาน อีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถลดความรุนแรงของการท้องร่วงในสัตว์ได้ นั่นก็คือ การใช้สารสกัดจากธรรมชาติชื่อว่า สารแทนนินนั่นเอง ซึ่งสารนี้มีประโยชน์ หรือโทษอย่างไร มาติดตามกันต่อในบทความนี้ค่ะ

  สารแทนนิน (Tannin) เป็นสารประกอบโพลีฟีนอลิค (Polyphenolic compounds) ซึ่งพบในส่วนต่างๆของพืช แทนนินสามารถละลายน้ำได้ มีสถานะเป็นกรดอ่อน รสฝาด สารแทนนินจัดเป็นสารยับยั้งการใช้ประโยชน์ได้ของโปรตีน มีผลต่อการลดการย่อยของโปรตีน ในกระเพาะรูเมนแทนนินก็จะไม่ถูกย่อยในสภาพความเป็นกรด-ด่างเช่นเดียวกัน แต่ถึงกระนั้น การใช้แทนนินในระดับต่ำสามารถช่วยลดการเกิดอาการท้องอืด เพิ่มการไหลผ่านของไนโตรเจนที่ไม่ใช่แอมโมเนียได้ เนื่องจากแทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน และสามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียบางชนิด ดังนั้น สัดส่วนที่เหมาะสมในการใช้แทนนินในอาหารสัตว์จึงมีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง ส่วนมากสารแทนนินที่ใช้ในอาหารสัตว์นี้จะเป็นสารสกัดจากเปลือกและลำต้นของสวีทเชสนัท (Sweet chestnut) ซึ่งสารสกัดที่ได้นั้นจะอยู่ในรูปไฮโรไลซ์แทนนิน (Hydrolysable tannin) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพในการใช้อาหารของสัตว์ นอกจากนี้สารแทนนินสามารถใช้ร่วมกับพรีไบโอติก หรือโพรไบโอติกได้เช่นกัน
 สารแทนนินนั้นมีประโยชน์หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากใช้ในปริมาณมากก็จะเกิดผลเสียต่อตัวสัตว์ได้ ดังนั้น หากฟาร์มของท่านกำลังประสบกับปัญหาการท้องร่วงในสัตว์ สารสกัดจากธรรมชาติอย่างแทนนินก็เป็นอีกนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ และสามารถลดการใช้ยาปฏิชีวนะที่เสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยาได้เช่นกัน

บริษัท นิวทริเมด จำกัด ผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมสำหรับสัตว์

อ้างอิง : กุลภัทร์ โพธิกนิษฐ, วันดี พาตระกูล, โอภภาส พิมพาล ทินกร ทาตระกูล และกุลยาภัสร์ วุฒิจารี.
(2552).การศึกษาปริมาณ และการใช้ประโยชน์ของสารแทนนินในใบกระถินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ